My Research


Improving speaking skill and creative thinking by using game
for creative thinking in Matthayomsuksa 5
การพัฒนาทักษะการพูดและความคิดสร้างสรรค์โดยการใช้เกม
ส่งเสริการคิดสร้างสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

บทคัดย่อ

                 การพูดเป็นกระบวนการสร้างและสื่อความหมาย ผ่านภาษาพูดและสัญลักษณ์ทางภาษา      ในหลายๆบริบท (Kayi.  2006  :  Web  Site) เป้าหมายของการสอนพูดคือการช่วยเพิ่มทักษะการสื่อสารของผู้เรียน เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นออกมา และเรียนรู้การปฏิบัติตามกฎระเบียบทางสังคมและวัฒนธรรมที่เหมาะสมด้านการสื่อสารในแต่ละสถานการณ์ การพูดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนในแต่ละบทเรียนเพื่อให้การพูดมีประสิทธิภาพ ซึ่งพิจารณาจากกิจกรรมและความสามารถในการพูด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการพูดของแต่ละคน นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถเข้าใจการใช้ภาษา โดยผู้สอนกำหนดเป้าหมายและตรวจสอบความก้าวหน้าในการพูดของผู้เรียนอยู่เสมอ การพูดเป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลและสร้างความหมายซึ่งรวมถึงการให้และการรับกระบวนการข้อมูลนั้นๆ แบบแผนและความหมายของการพูดขึ้นอยู่กับบริบท เหตุการณ์ รวมถึงผู้สนทนา การพูดเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่มีขอบเขตที่แน่นอน และมีวิวัฒนาการที่ค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถที่จะพยากรณ์การพูดได้ตลอดเวลาเพราะภาษามีแบบแผน วัตถุประสงค์ของการพูดนั้นไม่เพียงแต่ให้ผู้เรียนได้รู้หลักของการสร้างภาษาเท่านั้น แต่ผู้เรียนยังต้องเข้าใจด้วยว่า ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เป็นตัวที่ทำให้เกิดการสร้างภาษา ซึ่งแตกต่างจากภาษาเขียน ผู้พูดที่ดีจะต้องสังเคราะห์ลำดับของทักษะและองค์ความรู้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการพูด (Florez.  1999  :  Web Site)
การพัฒนาทักษะพูดต้องได้รับการฝึกฝนและกระตุ้นให้เกิดทักษะ บางครั้งการพูดก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องคิดนอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน บวกกับการสร้างสรรค์สิ่งสำคัญ             ซึ่งขึ้นอยู่กับการสอนและทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนแต่ละคน การพัฒนาทักษะพูด
อาจเป็นเรื่องที่ยากแต่เป็นการเพิ่มความมั่นใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน การที่ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการพูดมาแล้วหลายปี ด้วยการเริ่มต้นทีละขั้น ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และความพร้อมที่จะออกไปนำเสนอชิ้นงานหรือทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน โดยที่ผู้เรียนไม่รู้สึกกดดัน และเมื่อผู้เรียนได้กลับมานำเสนออีกครั้งก็จะไม่มีความรู้สึกกลัวในระหว่างการทำกิจกรรมทักษะพูด (Sasson.  2007  :  Web  Site)
                เกมเป็นรูปแบบของการเล่นที่ต้องมีเป้าหมายและโครงสร้างในการเล่นที่แน่นอน (Maroney.  2001 :  Web  Site)  การนำเกมเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ทางภาษาสามารถทำให้ผู้เรียนได้รับทั้งความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ขณะเดียวกันยังได้ความรู้ด้วย หากต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้และมีการพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์  ครูต้องเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Resnick.  2007  :  Web  Site) ด้วยการนำเกมส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์มาใช้ในห้องเรียน ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ  เช่น  การทำกิจกรรมกลุ่ม  การจัดหาวัสดุเพื่อให้นักเรียนได้อ่าน เล่น และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  (Fisher.  1997  :  2)                                                                                                                                                                                           การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์โดยการใช้เกมส่งเสริมคิดสร้างสรรค์ยังช่วยในการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นผู้เรียน ทำให้เกิดความสนใจก่อนที่จะเรียนในเนื้อหาบทเรียนซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจ สร้างความท้าทายให้กับผู้เรียน นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกทักษะการพูด  การเขียน การฟังและการอ่าน ซึ่งเกมที่ใช้สอนในห้องเรียนเป็นเกมทางภาษาที่คุ้นเคยและเป็นที่นิยม เช่น เกมยี่สิบคำถาม  เกมกระซิบ  การสร้างประโยค  และตอบคำถามใช่หรือไม่ใช่  สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ครูสอนภาษาต้องให้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้ผู้เรียนกล้าที่จะคิดนอกกรอบ ซึ่งในบางครั้งการสอนแบบเดิมอาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย  และครูผู้สอนควรที่จะพยายามทำบรรยากาศในห้องเรียนให้สดชื่นและมีความแตกต่างซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยากจนเกินไป  และการมีของรางวัลต่างๆก็สามารถสร้างความสุข สนุกสนาน รวมทั้งสร้างความกระตือรือร้นให้กับผู้เรียนได้ (Kim. 1993 :  Web  Site)  นอกจากนั้นเกมคิดสร้างสรรค์ยังช่วยพัฒนาความฉลาดทางด้านอารมณ์ โดยเฉพาะการจัดการกับความคิดของตนเองและนำไปสู่การคิดที่มีคุณค่าซึ่งเกมส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์จะช่วยพัฒนาสติ ความมั่นใจ และความเชื่อมั่นในตนเอง 
(Fisher.  2008  :  3)
ดังนั้นกลุ่มผู้วิจัยจึงเห็นว่า การนำเกมสำหรับการคิดสร้างสรรค์มาใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน เพราะการนำเกมสำหรับการคิดสร้างสรรค์เข้ามามีส่วนร่วมในบทเรียนนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างมีอิสระ   ทำให้สนุกสนาน กล้าแสดงออก พร้อมทั้งเป็นการให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดโดยใช้เกมสร้างสรรค์เป็นสื่อ ดังนั้นเกมสร้างสรรค์จึงเปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางที่ทำให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงทำให้กลุ่มผู้วิจัยสนใจที่จะนำเกมส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์เข้ามาช่วยในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 ให้บรรลุตามความมุ่งหมายในการพัฒนาทักษะพูดให้ดีมากขึ้น

บทที่ 1 หน้า 1-5
บทที่ 2 หน้า 6-38

วิจัยบทที่ 4
บทที่ 5 สรุป ผ่าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น